1. ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ อาการที่จะเกิดขึ้น คือ ปวดศีรษะ ไอแห้ง มีน้ำมูก คัดจมูกปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้สูง
การป้องการที่ดีที่สุด คือ หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี
2. โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม
เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้ถุงลมปอดเต็มไปด้วยหนองหรือสารคัดหลั่งส่งผลให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนลดลงอย่างมากอาการที่จะเกิดขึ้น คือมีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น ไอ มีเสมหะเจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน และในทารก หรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้องท้องอืด เป็นต้น
การป้องการที่ดีที่สุด คือ ไม่สูบบุหรี่เนื่องจากสารจากควันบุหรี่จะไปทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามธรรมชาติของปอดหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็นเมื่อเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้
3.โรคไข้เลือดออก
มียุงลาย เป็นพาหะซึ่งแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในฤดูนี้ ติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกีเชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกกัดต่อไปได้ อาการที่จะเกิดขึ้นคือ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา เป็นต้น
การป้องการที่ดีที่สุด คือ ป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านรวมทั้งรอบๆ บริเวณบ้าน ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
4.โรคตับอักเสบ
ภาวะอักเสบที่เกิดบริเวณตับ อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หรือสาเหตุอื่นๆอย่างการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การใช้ยาเสพติด ผลข้างเคียงจากการใช้ยาการได้รับสารพิษ โรคอ้วน และกลุ่มอาการเมตาบอลิก รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันทำลายตับเอง อาการที่จะเกิดขึ้น คือ อ่อนเพลียปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ร่วมกับการมีคลื่นไส้ อาเจียนท้องเสีย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง
การป้องการที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด หรืออาหารสุกๆ ดิบๆไม่ใช้เข็ม มีดโกน แปรงสีฟัน ร่วมกับผู้อื่น และฉีดวัคซีนป้องกัน
5.โรคฉี่หนู
ติดต่อทางบาดแผลและมีน้ำเป็นตัวพาหะ จึงไม่ควรเดินในน้ำขังโดยเฉพาะในคนที่มีบาดแผล อาการที่จะเกิดขึ้น คือ เยื่อบุตาบวมแดง เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมีเลือดออกบริเวณต่างๆ เฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนังอาการเหลือง
การป้องการที่ดีที่สุด คือ ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้าเสื้อผ้า หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคหลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกรและไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อหลีกเลี่ยงอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนที่ไม่ปิดภาชนะ เป็นต้น
เนื่องจากโรคที่มากับฤดูฝนนั้นมีมากมายทั้งโรคที่มีอาการไม่รุนแรงจนถึงโรคที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น ควรดูแลร่างกายให้อบอุ่นนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาความสะอาด ล้างมือล้างเท้าบ่อย ๆรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับวัคซีนป้องกันโรคให้ครบถ้วนหากมีอาการผิดปกติ ปรึกษาแพทย์ทันที