1. ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจอันมีที่มาจากความเครียดสะสมปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอนามัยโลก (WHO)แล้วว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลรุนแรงและคุกคามการดำเนินชีวิตได้หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยสาเหตุมักเกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงานภาระงานที่หนักซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับผิดชอบได้ไหวบั่นทอนจิตใจจนกลายสภาพเป็นความหมดไฟในที่สุดความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ส่งผลให้มุมมองที่มีต่อการทำงานเป็นไปในด้านลบ ขาดความสุขหมดแรงจูงใจไม่อยากลุกไปออฟฟิตในยามเช้า และอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลงซึ่งหากปล่อยให้นานวันเข้าอาจมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าได้
2. เครียดสะสม
การใช้ชีวิตบนความตึงเครียด ความกดดัน และมีความคาดหวังสูง 5-6 วันต่อสัปดาห์ มักเป็นสาเหตุของอาการเครียดสะสมหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่หลายคนเป็นแต่ไม่รู้ตัวเรียกได้ว่ารู้ตัวอีกทีก็อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานและคนรอบข้างไปแล้วสังเกตได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปทั้งด้านอารมณ์และการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับตื่นกลางดึก นิ่งเงียบ เบื่อหน่ายชีวิต เศร้าหมอง ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้นซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจกลายเป็นภาวะอันตรายที่นำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางกายตามมาได้ทั้งหัวใจ ความดันโลหิต ไมเกรน เครียดลงกระเพาะ และอื่นๆ ได้
3. ภาวะเฉื่อย
การมีแรงกดดันจากคนรอบข้างและ routine จากสถานที่ทำงานนั้นช่วยให้มีแรงจูงใจในการทำงานแต่เมื่อปราศจากสิ่งเหล่านั้นเมื่อไหร่ดูเหมือนคนกลุ่มนี้จะบังคับตัวเองให้ทำงานตามปกติไม่ได้เมื่อปล่อยตัวเองให้ไม่ทำตามตารางสะสมเข้าหลาย ๆ วันก็จะเกิดภาวะเฉื่อย ขี้เกียจเบื่อหน่าย ควบคุมตัวเองไม่ได้ ใช้เวลาไปกับกิจกรรมบันเทิงที่ไร้สาระทั้งวันจนมีผลกระทบต่อการทำงานอย่างแน่นอนรวมถึงความรู้สึกที่คนคนนั้นมีต่อตัวเองในแง่ลบมากขึ้นด้วย
4. ย้ำคิดย้ำทำ
ความวิตกกังวลที่เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมาทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจแม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนักแต่ทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อยซึ่งอาการย้ำคิดย้ำทำแบบนี้กลับพบบ่อยในคนวัยทำงาน เช่นคิดว่าลืมล็อคประตูบ้านต้องเดินกลับไปดูว่าล็อคหรือยังคิดว่าลืมปิดก็อกน้ำต้องกลับไปเช็คอีกครั้ง เป็นต้น
5. ภาวะความพึงพอใจในตนเองต่ำ
ความรู้สึกเศร้าใจไม่ชอบสิ่งที่ตัวเองได้ตัดสินใจทำลงไปแล้วมากเสียจนรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าสูญเสียความรู้สึกให้เกียรติตัวเอง แบกรับปัญหาและกล่าวโทษว่ามีต้นเหตุมาจากตัวเองไม่ดีพอตีความเหตุการณ์ต่างๆ ในแง่ลบเสมอ เป็นภาวะเสี่ยงมากที่จะก้าวข้ามสู่โรคซึมเศร้าสัญญาณเตือนที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้กำลังเผชิญวิกฤติ Low self esteem คือความอ่อนไหวไปกับเรื่องเล็กน้อยได้ง่ายวิตกกังวล ไปจนถึงกลัวการเข้าสังคมเพราะกลัวที่ต้องถูกปฏิเสธขณะเดียวกันก็ไม่กล้าปฏิเสธคำขอของผู้อื่นเนื่องจากกลัวไม่เป็นที่ยอมรับซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและศรัทธาในตนเองที่สะสมมาเป็นเวลานาน
อย่าปล่อยให้ปัญหาสุขภาพจิตอย่างโรคซึมเศร้าคุกคามชีวิตจนเกินแก้ไขเราสามารถห่างไกลโรคซึมเศร้าได้ด้วยการผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากงานฝึกให้ตนเองคิดบวกมองโลกแง่ดี แบ่งเวลาออกไปทำงานอดิเรกที่ชอบรวมถึงออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ หากรู้ตัวว่าภาวะเครียดเริ่มคุกคามจิตใจหรือกำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพจิตสามารถติดต่อศูนย์บริการเฉพาะทางเพื่อขอคำปรึกษาจากจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและรับการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป